Wednesday, November 6, 2019

โพรทิโอแบคทีเรีย


กลุ่มโพรทิโอแบคทีเรีย




   เป็นยูแบคทีเรียแกรมลบที่พบมากที่สุดและมีกระบวนการเมแทบอลิซึมที่หลากหลายบางกลุ่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้คล้ายพืชบางกลุ่มสามารถดำรงชีวืตโดยใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์ และให้ซัลเฟอร์ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เช่น เพอเพิลซัลเฟอร์แบคทีเรีย (purple sulfur bacteria) บางกลุ่มมีบทบาทช่วยตรึงแก๊สไนโตรเจนในอากาศมาสร้างเป็นสารประกอบไนโตรเจนในดิน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น Rhizobium sp. ในปมรากของพืชตระกูลถั่ว เป็นต้น

ที่มา https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/xanacakr-sing-mi-chiwit/xanacakr-po-rti-s-ta-kingdom-protista


Sunday, September 1, 2019

stramenopiles


Stramenopiles

       เป็นโปรติสต์ที่ส่วนใหญ่มีการสังเคราะห์ด้วยแสง เซลล์สืบพันธุ์มี flaggella 2 เส้น คือเส้นที่มีขนและไม่มีขน เรียกกลุ่มนี้ว่าสาหร่าย (algae)
1.สาหร่ายสีน้ำตาล (Brown Algae) มีคลอโรฟิลล์อี (chlorophyll e) และฟิวโคแซนธิน (fucoxanthin)

Image result for ิพนไื ฟสเฟำ


2.ไดอะตอม (Diatoms) ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม โครงสร้างของไดอะตอมประกอบด้วย ซิลิกา ห่อหุ้มไซโทพลาสซึม ซึ่งเป็นที่เก็บออร์แกเนลล์ทั้งหมด ไดอะตอมมีประมาณ 10,000 ชนิด แต่ละชนิดก็จะมีรูปร่างที่แตกต่างกัน เช่น เป็นทรงกลม คล้ายไข่ เรือ หรือจาน เป็นต้น ขยายพันธุ์โดยการแบ่งเซลล์ ในสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิที่เหมาะสม ไดอะตอมสามารถแบ่งเซลล์ได้ 1,000,000,000 เซลล์ภายใน 1 เดือน
ไดอะตอมมีประโยชน์หลายประการต่อสิ่งแวดล้อม เช่น เป็นอาหารของปลา หอย สัตว์น้ำต่างๆ มนุษย์นำไดอะตอมมาใช้ขัดโลหะ ใช้เป็นฉนวนของเตาไฟ เครื่องทำความเย็น และอุตสาหกรรมต่างๆ

Image result for ไดอะตอม

Alveolata


Alveolata

       เป็นโพรทิสต์เซลล์เดียวที่มีช่องว่างเล็กๆใต้เยื่อหุ้มเซลล์ เรียกว่า แอลวีโอไล (alveoli)


1.ไดโนแฟลเจลเลต (dinoflagellate) เป็น สาหร่ายเซลล์เดียวชนิดหนึ่ง ผนังเซลล์เป็นเซลลูโลส สังเคราะห์ด้วยแสงได้ มีคลอโรฟิลล์เอและซี มักมีสีเหลือง-เขียว น้ำตาลหรือแดง เป็นแพลงก์ตอนพืชในน้ำจืดและในทะเล ไดโนแฟลกเจลเลตสีแดงเช่น Gonyaulax เมื่อมีการเจริญมากขึ้นทำให้น้ำเป็นสีน้ำตาลหรือสีแดงเรียกว่า Red tides ซึ่งจะผลิตสารพิษที่เป็นพิษต่อระบบประสาท ทำให้ปลาตายเป็นจำนวนมาก มนุษย์ที่กินปลาเหล่านี้มีโอกาสได้รับสารพิษเช่นเดียวกัน


Image result for ไดโนแฟลกเจลเลต



2. เอพิคอมเพลกซา (Apicomplaxa) เป็นโพรทิสต์ที่มีขนาดเล็กส่วนใหญ่จะดำรงชีวิตเป็นปรสิต ได้แก่ พลาสโมเดียม (Plasmodium) ชนิดที่ทำให้เกิดโรคมาลาเรียในคนและสัตว์อื่น โดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะคือ Plasmodium falciparum


Image result for เอพิคอมเพลซา

3. ซิลิเอต (ciliates) เป็นโพรทิสต์ที่ใช้ซิเลียในการเคลื่อนที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำหรือมีความชื้นสูง โพรทิสต์กลุ่มนี้มีความหลากหลายทางสปีชีส์มากที่สุด ตัวอย่างสัตว์ในกลุ่มนี้เช่น พารามีเซียมวอร์ติเซลลา เป็นต้น


Image result for ซิลิเอต

Euglenozoa

Euglenozoa


Image result for Euglenozoa



เป็นโพรทิสต์กลุ่มที่เคลื่อนที่โดยใช้แฟลเจลลา เช่น ยูกลีนาและทริปพาโนโซมยูกลีนา(Euglena) เป็นโพรทิสต์เซลล์เดียวที่มีสารสีแคโรทีนและคลอโรฟิลล์ จึงสามารถดำรงชีวิตเป็นผู้ผลิตเมื่อมีแสงและเมื่อไม่มีแสงดำรงชีวิตเป็นผู้บริโภคมีอายสปอต(eye spot) ในการตอบสนองต่อแสง ทริปพาโนโซม(Trypanosoma) เป็นโพรทิสต์ที่ดำรงชีวิตเป็นปรสิตในเลือดของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดโรคเหงาหลับ


Diplomonadida and Parabasala


Diplomonadida & Parabasala


        เป็นกลุ่มของโพรทิสต์ที่เป็นเซลล์ยูคาริโอตที่ยังไม่มีออร์แกเนลล์ คือ ไม่มีไมโทคอนเดรีย ร่างแหเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม กอลจิคอมเพล็กซ์และเซนติโอล ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าโพรทิสต์กลุ่มนี้ได้มีวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษของยูคาริโอต ซึ่งภายในเซลล์ยังไม่มีออร์แกเนลล์ใด ๆ
1.ดิโพลโมแนด (diplomonads) มีแฟลเจลลาหลายเส้น มีนิวเคลียส 2 อัน ตัวอย่างเช่น Giardia lamblia เป็นปรสิตในลำไส้ของคน
28.9  
2. พาราบาซาลิต (parabasalide) มีแฟลเจลลาเป็นคู่และผิวเยื่อหุ้มเซลล์มีลักษณะเป็นรอยหยักคล้ายคลื่น ตัวอย่างเช่น ไตรโคนิมฟา (triconympha) ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ปลวกจะดำรงชีวิตแบบภาวะพึ่งพากัน โดยสร้างเอนไซม์ย่อยเซลลูโลสในไม้ให้กับปลวก และไตรโคโมแนส (trichomonas) เป็นโพรทิสต์ที่ทำให้เกิดอาการติดเชื้อในช่องคลอด



Image result for Diplomonadida & Parabasala


Kingdom protista

Kingdom Protista



ลักษณะ

1. ร่างกายประกอบด้วยโครงสร้างง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ส่วนมากประกอบด้วยเซลล์เดียว (unicellular) บางชนิดมีหลายเซลล์รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า โคโลนี (colony) หรือเป็นสายยาว (filament) แต่ยังไม่ทำหน้าที่ ร่วมกันเป็นเนื้อเยื่อ (tissue)หรืออวัยวะ (organ) แต่ละเซลล์สามารถทำหน้าที่ของความเป็นสิ่งมีชีวิตได้ครบถ้วนอย่างอิสระ      
2. ไม่มีระยะตัวอ่อน (Embryo) ซึ่งต่างจากพืชและสัตว์    
 3. การดำรงชีพ มีทั้งชนิดที่เป็นผู้ผลิต (Autotroph) เพราะมีคลอโรฟิลล์ เป็นผู้บริโภค (Consumer) และเป็นผู้ย่อยสลายอินทรียสาร (Decomposer)      
4. โครงสร้างของเซลล์เป็นแบบยูคาริโอติก (Eucaryotic) ซึ่งมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ได้แก่ โพรโทซัว เห็ด รา ยีสต์ ราเมือก สาหร่ายต่าง ๆ      
5. การเคลื่อนที่ บางชนิดเคลื่อนที่ได้โดยใช้ ซีเลีย (cilia) แฟลกเจลลัม (flagellum) หรือซูโดโปเดียม (Pseudopodium) บางชนิดเคลื่อนที่ไม่ได้      
6. การสืบพันธุ์ ทั้งแบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction) และแบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) แบบอาศัยเพศมีทั้งชนิดคอนจูเกชัน (Conjugation) ซึ่งเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ที่มีรูปร่างและขนาดเหมือนกัน มารวมกัน ดังเช่นที่พบในพารามีเซียม ราดำ เป็นต้น และชนิดปฏิสนธิ (fertilization) ซึ่งเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ ที่มีรูปร่างและขนาดต่างกันมารวมกัน ดังเช่นที่พบในสาหร่ายเป็นส่วนใหญ่ เป็นต้น
มีทั้งกลุ่มที่สังเคราะห์แสงได้, กลุ่มที่ต้องกินอาหาร และกลุ่มที่ต้องดูดซึมอาหารและคล้ายเชื้อรา

ประเภท

แบ่งตามสายวิวัฒนาการได้เป็น
1. Diplomonadida และ Parabasala 
2.Euglenophyta
3.Alveolata
  -Dinoflagellate
   -Apicomplexa
   -Ciliates
4.stramenopiles
   -สาหร่ายสีน้ำตาล
   -Diatoms
5.สาหร่ายสีแดง
6.สาหร่ายสีเขียว
7.ไมซีโทซัว
   

Saturday, August 31, 2019

ไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา (Phylum Echinodermata)

ไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา
(Phylum Echinodermata)



สัตว์ที่ผิวหนังมีหนามขุรขระ อาศัยอยู่ในทะเล  มีโครงร่างเเข็งภายใน เป็นแผ่นหินปูนเล็กๆ ที่ยึดติดกันด้วยกล้ามเนื้อหรือผิวหนังที่ปกคลุมอยู่บางชนิด ลำตัวเเบ่งเป็น 5 ส่วนหรือทวีคูณของ 5 ยื่นออกมาจากเเผ่นกลมที่เป็นศูนย์กลาง สมมาตรร่างกาย ตัวอ่อนเป็นแบบครึ่งซีก (Bilateral symmetry) ตัวเต็มวัยมีเมแทมอร์โฟซิสกลายเป็นสมมาตรแบบรัศมี (Radial symmetry) ทางเดินอาหารสมบูรณ์ (Complete digestive tract) ระบบไหลเวียนเลือดแบบเปิด (Open circulatory system) ระบบประสาท มีเส้นประสาทเป็นวงเเหวนรอบปาก (Nerve ring) และแยกแขนงไปตามแขน การเคลื่อนไหวใช้ระบบท่อน้ำ (Water vascular system) ภายในร่างกาย และใช้ Tube feet ในการเคลื่อนที่ การสืบพันธุ์ มีเพศแยกกัน แบ่งเป็นเเบบอาศัยเพศโดยมีการปฎิสนธิภายนอก และแบบไม่อาศัยเพศบางชนิด เช่น การขาดของเเขนใดเเขนหนึ่ง ส่วนที่ขาดก็จะเจริญไปเป็นตัวเต็มอีกทีหนึ่ง (Regeneration) ยกเว้นปลิงทะเลที่ทำไม่ได้

ตัวอย่างสิ่งมีชีวิต : ดาวทะเล เม่นทะเล เหรียญทะเล ปลิงทะเล ดาวเปราะ 

ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda)

ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda)



สัตว์ที่มีลำตัวเป็นปล้องและมีรยางค์เป็นข้อๆต่อกัน (jointed appendage) ยื่นออกมาจากแต่ละปล้องของลำตัว มีจำนวนชนิดมากที่สุดในอาณาจักรสัตว์ ประมาณว่ามีถึงกว่า 9 แสนชนิดที่มนุษย์เราได้ค้นพบ สามารถอาศัยอยู่ได้ในแทบทุกสภาพภูมิประเทศบนโลก นับว่าประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิตบนโลกเป็นอย่างมาก เห็นได้จากการที่เราพบสัตว์เหล่านี้ได้แทบทุกหนทุกแห่ง ทุกฤดูกาล และพบเป็นจำนวนมาก มีโครงสร้างของร่างกายที่แข็งแรง มีระบบประสาทที่เจริญดี มีอวัยวะรับความรู้สึกหลายชนิด มีการแบ่งสัดส่วนของร่างกายเป็นข้อปล้องชัดเจน 3 ส่วนคือ หัว (Head), อก (Thorax) และท้อง (Abdomen) ระบบหมุนเวียนเป็นระบบเปิด ประกอบไปด้วยหัวใจ เลือด และแอ่งเลือด (Haemocoel) โดยเลือดไม่มีสี มีทางเดินอาหารสมบูรณ์ (Complete digestive tract) สัตว์ที่อยู่บนบกจะหายใจโดยใช้ท่อลม (Tracheal system) แต่สัตว์ที่อยู่ในน้ำจะหายใจโดยใช้เหงือก (Book gill) ขับถ่ายของเสียโดยใช้ mulpighian tube 

แบ่งออกได้เป็น 6 Class ได้แก่
1. Class Merostomata เช่น แมงดาทะเล แมงดาจาน แมงดาถ้วย
2. Class Arachnida เช่น แมงมุม แมงป่อง เห็บ ไร
3. Class Crustacea เช่น กุ้ง กั้ง ปู ไรน้ำ เพรียงหิน เพรียงคอห่าน
4. Class Diplopoda เช่น กิ้งกือ กระสุนพระอินทร์
5. Class Chilopoda เช่น ตะขาบ ตะขาบฝอย
6. Class Insecta เช่น แมลง ต่อ แตน ผีเสื้อ ยุง เหา ตั๊กแตน


ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca)

ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca)



สัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนิ่ม ส่วนใหญ่มีเปลือกแข็งหุ้มอยู่ภายนอกเป็นหินปูน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำทะเล มีอาศัยอยู่บนบกบ้าง มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น (Triploblastic) มีช่องลำตัวแท้จริง (Eucoelom) บางชนิดมีระบบไหลเวียนเลือดแบบเปิด (Open circulatory system) บางชนิดมีระบบไหลเวียนเลือดแบบปิด (Closed circulatory system) เลือดมีสีน้ำเงิน เพราะมีสาร Haemocyanin ยกเว้นหอยแครงที่มีเลือดสีแดง ขับถ่ายของเสียโดยใช้ไต ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส สัตว์บกจะใช้ปอด ส่วนสัตว์น้ำจะใช้เหงือก ระบบประสาทประกอบด้วย ปมประสาท 3 คู่ และเส้นประสาท 2 คู่ ส่วนใหญ่มีเพศแยกกันเป็นตัวผู้และตัวเมีย

แบ่งออกเป็น 6 Class ได้แก่
1. Class Gastropoda เช่น หอยสังข์ หอยโข่ง หอยขม และหอยทาก 
2. Class Polyplacophora เช่น ลิ่นทะเล 
3. Class Bivalvia เช่น หอยกาบ หอยนางรม หอยแครง หอยเสียบ 
4. Class Scaphopoda เช่น หอยงาช้าง 
5. Class Cephalopoda เช่น หมึกกล้วย หมึกกระดอง หมึกสาย หมึกยักษ์
6. Class Monoplacophora เช่น หอยฝาชีโบราณ


ไฟลัมแอนเนลิดา (Phylum Annelida)

ไฟลัมแอนเนลิดา (Phylum Annelida)



เป็นสัตว์ประเภทหนอนปล้อง มีลำตัวกลมยาวเป็นปล้องๆ มองเห็นภายนอกเป็นวงเเละภายในมีเนื้อเยื่อกั้นระหว่างปล้องเรียกว่า เซปตา (Septa) เเต่ละปล้องมีอวัยวะคือ เดือย (Saeta) 4 คู่ มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น (Triploblastica) สมมาตรแบบครึ่งซีก (Bilateral symmetry) มีช่องลำตัวเเท้จริง (Eucoelom) และข้อปล้องแท้ (Metameric segmentation) ที่หัวมีอวัยวะสำคัญ (สมอง คอหอย หัวใจ) ระบบประสาทประกอบด้วย ปมสมองที่หัว 1 คู่ และ เส้นประสาทใหญ่ด้านท้อง มี Nephridium ทำหน้าที่ในการขับถ่ายคล้ายไต และมี 2 เพศในตัวเดียว (Hermaphrodite) แต่ผสมข้ามตัว

แบ่งออกเป็น 4 Class ได้แก่ 
1. Class Oligochaeta เช่น ไส้เดือนดิน
2. Class Polychaeta เช่น แม่เพรียง ไส้เดือนทะเล
3. Class Hirudinea เช่น ปลิงน้ำจืด ปลิงดูดเลือด ปลิงควาย ปลิงเข็ม
4. Class Archiannelida เช่น แอนนีลิด ที่มีขนาดเล็กมาก เรียกว่า หนอนทะเล

ไฟลัมนีมาโทดา (Phylum Nematoda)

ไฟลัมนีมาโทดา (Phylum Nematoda)



เป็นสัตว์ประเภทหนอนตัวกลม ลำตัวกลมยาว หัวท้ายเเหลม ไม่มีรยางค์ ไม่มีข้อปล้อง (Non metameric) มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น (Triploblastica) สมมาตรแบบครึ่งซีก (Bilateral symmetry) มีช่องลำตัวเทียม (Pseudocoelom) ซึ่งมีของเหลวบรรจุอยู่เต็ม ผิวลำตัวปกคลุมด้วยสารคิวติน (Cuticle) เพื่อป้องกันน้ำย่อยจากโฮสต์ มีทางเดินอาหารสมบูรณ์ (Complete digestive tract) เป็นพวกแรก คือมีทั้งปากเเละทวารหนัก ระบบประสาทเป็นวงเเหวนรอบคอ ต่อกับเส้นประสาทที่ยาวตลอดลำตัว ไม่มีระบบไหลเวียนเลือดเเละระบบหายใจ มีการสืบพันธุ์เเบบอาศัยเพศ ตัวผู้ตัวเมียคนละตัวกัน ไข่มีสารไคตินหุ้มจึงทนทานต่อสภาพเเวดล้อมได้ดี

ตัวอย่างสิ่งมีชีวิต : พยาธิไส้เดือน ไส้เดือนฝอย และหนอนในน้ำส้มสายชู


ไฟลัมแพลทิเฮลมินทิส (Phylum Platyhelminthes)

ไฟลัมแพลทิเฮลมินทิส
(Phylum Platyhelminthes)



เป็นสัตว์ประเภทหนอนตัวแบน มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น (Triploblastica) สมมาตรแบบครึ่งซีก (Bilateral symmetry) ไม่มีช่องว่างกลางลำตัว (Acoelom) ไม่มีระบบหมุนเวียนโลหิต ไม่มีเส้นเลือด ไม่มีหัวใจ สารอาหารไปเลี้ยงเซลล์โดยการแพร่จากทางเดินอาหารเข้าสู่เซลล์โดยตรง มีระบบทางเดินอาหารเป็นแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete digestive tract) คือมีปากแต่ไม่มีทวารหนัก และในพวกพยาธิตัวตืดไม่มีทางเดินอาหาร มีระบบประสาทอยู่ทางด้านหน้าและแตกแขนงออกไปทางด้านข้างของลำตัว มีทั้งสองเพศในตัวเดียวกัน สามารถผสมพันธุ์ได้ภายในตัวเอง (Self fertilization) และผสมพันธุ์ข้ามตัว (Cross fertilization) สิ่งมีชีวิตในไฟลัมนี้ มีทั้งที่ดำรงชีวิตโดยหากินอย่างอิสระ (free living) และโดยเป็นปรสิต (parasite)

ตัวอย่างสิ่งมีชีวิต : พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด และพลานาเรีย

ไฟลัมไนดาเรีย (Phylum Cnidaria)

ไฟลัมไนดาเรีย (PHYLUM CNIDARIA)



มีอีกชื่อว่า ไฟลัมซีเลนเทอราตา (Coelenterata) เป็นกลุ่มสัตว์ที่มีรูปร่างทรงกระบอก มีโพรงในลำตัว ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น (Diploblastica) ระหว่างชั้นเนื้อเยื่อมีสารคล้ายวุ้นเรียกว่า Mesoglea เเทรกอยู่ สมมาตรแบบรัศมี (Radial symmetry) มีช่องว่างในลำตัวที่เรียกว่า "ช่องแกสโตรวาสคิวลาร์" (Gastrovascular Cavity) เสมือนระบบย่อยอาหารและระบบหมุนเวียนสาร ทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ (One-hole sac) มีหนวดหรือ เทนตาเคิล (Tentacle) อยู่รอบปาก มีเซลล์ "นิโดไซต์" (Cnidocyte) แทรกอยู่ที่เทนตาเคิล มีเข็มพิษเรียกว่า นีมาโตซีสต์ (Nematocyst) ใช้สำหรับแทงเหยื่อ โดยเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายอาจตายหรือเป็นอัมพาตได้ มีวงจรชีพสลับ สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแตกหน่อ (Budding) และมี 2 เพศในตัวเดียวกัน (Hermaphrodite)

ตัวอย่างสิ่งมีชีวิต : ไฮดรา แมงกระพรุน ดอกไม้ทะเล ปะการัง กัลปังหา


ไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera)

ไฟลัมพอริเฟอรา (PHYLUM PORIFERA)




เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการต่ำสุด ลำตัวเป็นรูพรุน ไม่มีเนื้อเยื่อแท้จริง ฟองน้ำที่มีรูปร่างซับซ้อนน้อยที่สุดจะมีสมมาตรรัศมี (Radial symmetry) แต่ฟองน้ำส่วนใหญ่ไม่มีสมมาตร (Asymmetry) จะมีการสร้าง Gemmule (แตกหน่อ) เพื่อสืบพันธุ์เวลาสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสม มีทั้งอาศัยในน้ำจืดและน้ำเค็ม มีสีสดใส (แดง ส้ม เหลือง ม่วง) เกิดจากรงควัตถุที่อยู่ในเซลล์ผิว และมีโครงร่างแข็งค้ำจุน (Spicule ที่เป็นหินหรือแก้ว , Spongin ที่เป็นเส้นใยโปรตีน)

ตัวอย่างสิ่งมีชีวิต : ฟองน้ำ


อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia)

อาณาจักรสัตว์ (KINGDOM ANIMALIA)


สัตว์ เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ประกอบด้วยเซลล์ชนิดยูแคริโอต เซลล์ของสัตว์ยึดติดกันด้วยโปรตีน collagen มีการเรียนรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้า สามารถเคลื่อนไหวได้โดยใช้เนื้อเยื่อประสาทและกล้ามเนื้อ อีกทั้งสัตว์ส่วนใหญ่ยังเป็นผู้บริโภค

เกณฑ์ในการจำแนกสัตว์
การจำแนกสัตว์เป็นไฟลัมต่างๆ สามารถใช้ลักษณะสำคัญดังนี้
1. สมมาตร (Symmetry) 
มี 3 ลักษณะ ได้แก่ ไม่มีสมมาตร (Asymmetry), สมมาตรแบบรัศมี (Radial symmetry), และสมมาตรแบบครึ่งซีก (Bilateral symmetry) 
2. จำนวนชั้นของเนื้อเยื่อ (Germ layer) 
มี 3 ลักษณะ ได้แก่ ไม่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริง (No true tissue), เนื้อเยื่อ 2 ชั้น (Diploblastica), และเนื้อเยื่อ 3 ชั้น (Triploblastica)
3. ช่องว่างในลำตัว (Coelom) 
มี 3 ลักษณะ ได้แก่ ไม่มีช่องว่างในลำตัว (Acoelom), มีช่องตัวเทียม (Pseudocoelom), และมีช่องตัวที่แท้จริง (Eucoelom)
4. การแบ่งเป็นปล้อง (Segmentation) 
มี 2 ลักษณะ ได้แก่ การแบ่งเป็นปล้องเฉพาะภายนอก (Superficial segmentation), และการแบ่งเป็นปล้องที่แท้จริง (Metameric segmentation)
5. ระบบทางเดินอาหาร (Digestive system)
มี 3 ลักษณะ ได้แก่ ไม่มีทางเดินอาหาร, ทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete digestive tract), และทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ (Complete digestive tract)
6. ระบบไหลเวียนเลือด (Circulatory system)
มี 3 ลักษณะ ได้แก่ ไม่มีระบบไหลเวียนเลือด, ระบบไหลเวียนเลือดแบบเปิด (Open circulatory system), และระบบไหลเวียนเลือดแบบปิด (Closed circulatory system)
7. การเกิดช่องปาก (Fate of blastopore)
มี 2 ลักษณะ ได้แก่ ช่องปากเกิดก่อนช่องทวาร (Protostomia), และช่องทวารเกิดก่อนช่องปาก (Deuterostomia)

ไฟลัมของสัตว์
สัตว์สามารถแบ่งได้เป็น 9 ไฟลัม ได้แก่
1. ไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera) 
2. ไฟลัมซีเลนเทอราตา (Phylum Coelenterata) 
3. ไฟลัมแพลทิเฮลมินทีส (Phylum Platyhelminthes)
4. ไฟลัมเนมาโทดา (Phylum Nematoda) 
5. ไฟลัมแอนเนลิดา (Phylum Annelida) 
6. ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) 
7. ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda)
8. ไฟลัมอีไคโนเดอร์มาตา (Phylum Echinodermata)
9. ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata)

ที่มา https://schoolworkhelper.net/kingdom-animalia-general-characteristics-of-animals/

Friday, August 30, 2019

ลักษณะของยูแบคทีเรีย


EUBACTERIA



               





            ยูแบคทีเรียเป็นแบคทีเรียที่สามารถพบได้ทั้งในดิน น้ำ อากาศ อาหาร นม และในร่างกายของสิ่งมีชีวิตอื่น สามารถพบได้ทั้ง ในน้ำเค็ม น้ำจืด น้ำกร่อยในธารน้ำแข็ง หรือแม้กระทั่งแหล่งน้ำพุร้อน เป็นต้น  นอกจากนี้ยูแบคทีเรียมีกระบวนการเมแทบอลิซึมในการดำรงชีวิตที่หลากหลาย จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศ ยูแบคทีเรียแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆดังนี้

โครงสร้างของแบคทีเรียที่แตกต่างจากเซลล์อื่น ๆ
   1. แบคทีเรียมี ribosome ชนิด 70 s และสารพันธุกรรมเป็น DNA โดย (single circular DNA) 
   2. ผนังเซลล์ (cell wall) ทำหน้าที่คงรูปร่างของเซลล์ ป้องกันเซลล์แตกประกอบด้วย peptidoglycan ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาล ชนิด คือN-actyl glucosamine (NAG) และN-acytyl muramic acid (NAM) และ มี amino acid หลายชนิด และ lipoprotein lipopolysac teichoic acid 
   3. Capsule เป็นส่วนที่อยู่นอกผนังเซลล์ สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม และทนต่อการทำลายของเม็ดเลือดขาว พบแคปซูลในแบคทีเรียบางชนิดเท่านั้น แบคทีเรียที่มีแคปซูลมักก่อโรครุนแรง 
   4. pilil มีลักษณะเป็นขนคล้ายแฟลกเจลลา แต่มีขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นท่อกลวง ไม่มีหน้าที่ในการเคลื่อนที่แต่ช่วยให้เกาะยึดติดกับผิววัสดุ และ Sex pilli ช่วยในการถ่ายทอด DNA ใน Conjugation 
   5. mesosome เป็นส่วนที่เยื่อหุ้มเซลล์บางส่วนยื่นเว้าเข้าไปในcytoplasm จะพบบริเวณ ที่จะมี การแบ่งเซลล์ 
   6. Flagella เป็นโครงสร้างใช้ในการเคลื่อนที่ แบคทีเรียส่วนใหญ่เป็นพวกที่เคลื่อนที่ได้ แฟลกเจลลาประกอบด้วยเส้นใยเส้นเดี่ยว ๆ ซึ่งต่างจากแฟลกเจลลาของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ แบคทีเรียอาจมีแฟลกเจลลา เส้นจนถึงหลายร้อยเส้น และอยู่ได้หลายตำแหน่ง ส่วนของแฟลกเจลลา ประกอบด้วย ส่วน คือ basal body , hook และ filament 
   7. Plasmid เป็น DNA ที่อยู่นอกโครโมโซมของแบคทีเรีย ลักษณะของพลาสมิดเป็น DNA วงแหวน และเป็นเกลียวคู่ สามารถจำลองตัวเองได้และสามารถถ่ายทอดไปยังแบคทีเรียอื่น ๆ ได้ พลาสมิดมีหลายชนิด บางชนิดควบคุมการสืบพันธุ์แบบมีเพศของเซลล์ บางชนิดควบคุมการดื้อต่อยาปฏิชีวนะต่าง ๆ 
   8. endospore เป็นโครงสร้างที่พบในแบคทีเรียบางชนิด เป็นโครงสร้างที่ทำให้แบคทีเรียมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ เอนโดสปอร์เกิดขึ้นภายในเซลล์และสร้างได้ สปอร์ต่อ เซลล์จะไม่ถือว่าเป็นการสืบพันธุ์ แต่ถือว่าเป็นการดำรงชีพ 
     การสืบพันธุ์ของแบคทีเรีย 
ส่วนใหญ่แบคทีเรียสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศที่เรียกว่า Transverse Binary Fission
 
บางชนิดมีการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมได้ รูปแบบคือ
   1. Conjugation คือ การถ่ายทอดยีนจากแบคทีเรียเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งด้วยการจับคู่สัมผัสกันโดยตรง 
   2. Transformation คือ การถ่ายทอด DNA ตัวเปล่า (naked DNA) หรือ DNA อิสระจากแบคทีเรียเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง   3. Transduction คือ การถ่ายทอดยีนจากแบคทีเรียเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งโดยอาศัยไวรัสหรือ Bacteriophage 
     การจำแนก Bacteria ลักษณะดังนี้ 
1. ลักษณะทางสัณฐานวิทยา ได้แก่ รูปร่าง
 
2. ตามอาหารที่ได้รับ แบ่งเป็น
 
   2.1 พวก Autotroph เป็นพวกที่สามารถสร้างอาหารเองได้ 
   2.2 พวก Heterotroph เป็นพวกที่สามารถสร้างอาหารเองไม่ได้ 
3. การติดสีของผนังเซลล์ [ Gram stain ] แบ่งเป็น
 
   3.1 Gram positive เป็นพวกที่ติดสีย้อมคริสตัลไวโอเลต 
   3.2 Gram negative เป็นพวกที่ติดสีย้อมซาฟานิน 
4. การหายใจ ความต้องการใช้อากาศหรือ O2
 
5. ลักษณะการเลี้ยงเชื้อ : อาหาร สภาพแวดล้อม
 
6. ลักษณะทางแอนติเจน
 
     ประโยชน์ของแบคทีเรีย
1. ด้านอุตสาหกรรม เช่นการผลิตอาหารหมัก ใช้ฟอกหนัง
 
2. ด้านการเกษตร เช่นใช้เป็นปุ๋ย
 
3. การทดสอบคุณภาพน้ำ
 
4. ทางด้านการแพทย์ เช่นการผลิตยาปฏิชีวนะ
 
5. ใช้ในเทคโนโลยีชีวภาพ โดยใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรมสร้างแบคทีเรียที่มีลักษณะต่าง ๆ
 
6. ช่วยย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตให้เป็นอาหารของพืช
 
     โทษของแบคทีเรีย
1. ผลิตสารพิษที่เป็นอันตราย
 
2. ทำให้เกิดโรคต่างๆ ใน คน เช่น ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค ปอดบวม วัณโรค คอตีบ สัตว์ เช่น แอนแทรกซ์ บาดทะยัก และพืช เช่น โรครากเน่า โรคใบไม้ของสาลี่
 




















ไฟลัมไซยาโนไฟตา


ไฟลัมไซยาโนไฟตา (Phylum Cyanophyta)

สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในไฟลัมนี้ได้แก่ แบคทีเรีย 
ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในไฟลัมซิโซไฟดา คือ 
1. มีเซลล์ขนาดเล็ก 
2. ลักษณะรูปร่าง มี ลักษณะคือ    
      2.1 รูปร่างกลม เรียกว่า coccus (coccus = เอกพจน์ cocci = พหูพจน์) 
      2.2 รูปร่างแบบแท่งยาว เรียกว่า bacillus (bacillus = เอกพจน์ bacilli = พหูพจน์) 
      2.3 รูปร่าง เกลียว เรียกว่า spirillum (spirillum = เอกพจน์ spirillum = พหูพจน์) 

3. เซลล์รูปร่างต่าง ๆ มีการเรียงตัวทำให้เกิดลักษณะเฉพาะ เช่น  แบคทีเรียที่มีรูปร่างทรงกลมมีการเรียงตัวหลายแบบ 
- เซลล์ทรงกลม 2 เซลล์เรียงต่อกันเรียก diplococci
 
- เซลล์หลายเซลล์เรียงต่อกันเป็นลูกโซ่เรียก streptococci
 
- เซลล์หลายเซลล์เรียงกันเป็นกลุ่มก้อนคล้ายพวงองุ่น เรียก staphylococci
 
- เซลล์ 8 เซลล์ เรียงเป็นลูกบาศก์เรียก sarcina
         แบคทีเรียที่มีรูปร่างทรงกระบอก ไม่ค่อยมีแบบแผนการเรียงตัวที่เด่นชัดเท่าทรงกลม แต่อาจมีการเรียงตัวของเซลล์เนื่องมาจากระยะการเจริญเติบโตหรือขึ้นกับสภาพของการเพาะเลี้ยงในอาหาร  แบคทีเรียที่มีรูปร่างแบบเกลียว มักอยู่เป็นเซลล์เดี่ยว ๆ แต่ละชนิดมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านความยาว จำนวนเกลียว ความโค้ง 
4. แหล่งที่พบแทบทุกแห่งในดินในน้ำ ในอากาศ แหล่งที่เป็นน้ำพุร้อน เขตหิมะ ทะเลลึก 
5. การแบ่งแบคทีเรียตามความต้องการสารอาหาร 
           5.1 Photoautotroph 
           5.2 Photoheterotroph 
           5.3 Chemoautotroph 
           5.4 Chemoheterotroph 
 
6. การแบ่งแบคทีเรียตามความต้องการอากาศ 
           6.1 Aerobic bacteria 
           6.2 Facultative bacteria 
           6.3 microaerophilic bacteria 
           6.4 Anaerobic bacteria                                   

                                                                                                            7. การแบ่งแบคทีเรียตามความต้องการอุณหภูมิ 
   7.1 Psychrophile 
   7.2 Mesophile 
   7.3 Thermophile

ไฟลัมชิโซไฟตา


ไฟลัมชิโซไฟตา (Phylum Schizophyta)

     ได้แก่ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue-green algae) ปัจจุบันเรียกชื่อใหม่ว่า Cyanobacteria 

ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในไฟลัมไซยาโนไฟตา คือ 
1. ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เป็นเซลล์พวกโปรคารีโอต ไม่มี flagella 
2. มี chlorophyll phycocyanin phycorythin กระจายในเซลล์ แต่ไม่ได้รวมเป็น chloroplast 
3. ผนังเซลล์เป็น cellulose และ pectin 
4. มีขนาดเล็ก อาจอยู่ในลักษณะ 
  4.1 เซลล์เดี่ยว หรือเซลล์กลุ่ม
  4.2 เซลล์ที่จัดเรียงเป็นสาย 
การสืบพันธุ์ 
1. การแบ่งตัว Binary fission. 
2. การหักเป็นท่อน (fragmentation) พบในพวกที่เป็นสาย 
3. สร้างสปอร์หรือสร้างเซลล์พิเศษ เช่น akinete
     ประโยชน์ 
เป็นผู้ผลิตอาหาร และ O2 
- Spirulina หรือเกลียวทอง มี protein สูง ใช้ทำอาหารเสริมคนและสัตว์ 

- Nostoc Anabaena Oscillatori สามารถเพิ่มความตรึง N ทำเป็นปุ๋ยในดิน เช่น แหนแดง (Azolla) ซึ่ง Anabaena อยู่ช่องว่างกลางใบ