Sunday, September 1, 2019

stramenopiles


Stramenopiles

       เป็นโปรติสต์ที่ส่วนใหญ่มีการสังเคราะห์ด้วยแสง เซลล์สืบพันธุ์มี flaggella 2 เส้น คือเส้นที่มีขนและไม่มีขน เรียกกลุ่มนี้ว่าสาหร่าย (algae)
1.สาหร่ายสีน้ำตาล (Brown Algae) มีคลอโรฟิลล์อี (chlorophyll e) และฟิวโคแซนธิน (fucoxanthin)

Image result for ิพนไื ฟสเฟำ


2.ไดอะตอม (Diatoms) ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม โครงสร้างของไดอะตอมประกอบด้วย ซิลิกา ห่อหุ้มไซโทพลาสซึม ซึ่งเป็นที่เก็บออร์แกเนลล์ทั้งหมด ไดอะตอมมีประมาณ 10,000 ชนิด แต่ละชนิดก็จะมีรูปร่างที่แตกต่างกัน เช่น เป็นทรงกลม คล้ายไข่ เรือ หรือจาน เป็นต้น ขยายพันธุ์โดยการแบ่งเซลล์ ในสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิที่เหมาะสม ไดอะตอมสามารถแบ่งเซลล์ได้ 1,000,000,000 เซลล์ภายใน 1 เดือน
ไดอะตอมมีประโยชน์หลายประการต่อสิ่งแวดล้อม เช่น เป็นอาหารของปลา หอย สัตว์น้ำต่างๆ มนุษย์นำไดอะตอมมาใช้ขัดโลหะ ใช้เป็นฉนวนของเตาไฟ เครื่องทำความเย็น และอุตสาหกรรมต่างๆ

Image result for ไดอะตอม

Alveolata


Alveolata

       เป็นโพรทิสต์เซลล์เดียวที่มีช่องว่างเล็กๆใต้เยื่อหุ้มเซลล์ เรียกว่า แอลวีโอไล (alveoli)


1.ไดโนแฟลเจลเลต (dinoflagellate) เป็น สาหร่ายเซลล์เดียวชนิดหนึ่ง ผนังเซลล์เป็นเซลลูโลส สังเคราะห์ด้วยแสงได้ มีคลอโรฟิลล์เอและซี มักมีสีเหลือง-เขียว น้ำตาลหรือแดง เป็นแพลงก์ตอนพืชในน้ำจืดและในทะเล ไดโนแฟลกเจลเลตสีแดงเช่น Gonyaulax เมื่อมีการเจริญมากขึ้นทำให้น้ำเป็นสีน้ำตาลหรือสีแดงเรียกว่า Red tides ซึ่งจะผลิตสารพิษที่เป็นพิษต่อระบบประสาท ทำให้ปลาตายเป็นจำนวนมาก มนุษย์ที่กินปลาเหล่านี้มีโอกาสได้รับสารพิษเช่นเดียวกัน


Image result for ไดโนแฟลกเจลเลต



2. เอพิคอมเพลกซา (Apicomplaxa) เป็นโพรทิสต์ที่มีขนาดเล็กส่วนใหญ่จะดำรงชีวิตเป็นปรสิต ได้แก่ พลาสโมเดียม (Plasmodium) ชนิดที่ทำให้เกิดโรคมาลาเรียในคนและสัตว์อื่น โดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะคือ Plasmodium falciparum


Image result for เอพิคอมเพลซา

3. ซิลิเอต (ciliates) เป็นโพรทิสต์ที่ใช้ซิเลียในการเคลื่อนที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำหรือมีความชื้นสูง โพรทิสต์กลุ่มนี้มีความหลากหลายทางสปีชีส์มากที่สุด ตัวอย่างสัตว์ในกลุ่มนี้เช่น พารามีเซียมวอร์ติเซลลา เป็นต้น


Image result for ซิลิเอต

Euglenozoa

Euglenozoa


Image result for Euglenozoa



เป็นโพรทิสต์กลุ่มที่เคลื่อนที่โดยใช้แฟลเจลลา เช่น ยูกลีนาและทริปพาโนโซมยูกลีนา(Euglena) เป็นโพรทิสต์เซลล์เดียวที่มีสารสีแคโรทีนและคลอโรฟิลล์ จึงสามารถดำรงชีวิตเป็นผู้ผลิตเมื่อมีแสงและเมื่อไม่มีแสงดำรงชีวิตเป็นผู้บริโภคมีอายสปอต(eye spot) ในการตอบสนองต่อแสง ทริปพาโนโซม(Trypanosoma) เป็นโพรทิสต์ที่ดำรงชีวิตเป็นปรสิตในเลือดของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดโรคเหงาหลับ


Diplomonadida and Parabasala


Diplomonadida & Parabasala


        เป็นกลุ่มของโพรทิสต์ที่เป็นเซลล์ยูคาริโอตที่ยังไม่มีออร์แกเนลล์ คือ ไม่มีไมโทคอนเดรีย ร่างแหเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม กอลจิคอมเพล็กซ์และเซนติโอล ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าโพรทิสต์กลุ่มนี้ได้มีวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษของยูคาริโอต ซึ่งภายในเซลล์ยังไม่มีออร์แกเนลล์ใด ๆ
1.ดิโพลโมแนด (diplomonads) มีแฟลเจลลาหลายเส้น มีนิวเคลียส 2 อัน ตัวอย่างเช่น Giardia lamblia เป็นปรสิตในลำไส้ของคน
28.9  
2. พาราบาซาลิต (parabasalide) มีแฟลเจลลาเป็นคู่และผิวเยื่อหุ้มเซลล์มีลักษณะเป็นรอยหยักคล้ายคลื่น ตัวอย่างเช่น ไตรโคนิมฟา (triconympha) ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ปลวกจะดำรงชีวิตแบบภาวะพึ่งพากัน โดยสร้างเอนไซม์ย่อยเซลลูโลสในไม้ให้กับปลวก และไตรโคโมแนส (trichomonas) เป็นโพรทิสต์ที่ทำให้เกิดอาการติดเชื้อในช่องคลอด



Image result for Diplomonadida & Parabasala


Kingdom protista

Kingdom Protista



ลักษณะ

1. ร่างกายประกอบด้วยโครงสร้างง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ส่วนมากประกอบด้วยเซลล์เดียว (unicellular) บางชนิดมีหลายเซลล์รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า โคโลนี (colony) หรือเป็นสายยาว (filament) แต่ยังไม่ทำหน้าที่ ร่วมกันเป็นเนื้อเยื่อ (tissue)หรืออวัยวะ (organ) แต่ละเซลล์สามารถทำหน้าที่ของความเป็นสิ่งมีชีวิตได้ครบถ้วนอย่างอิสระ      
2. ไม่มีระยะตัวอ่อน (Embryo) ซึ่งต่างจากพืชและสัตว์    
 3. การดำรงชีพ มีทั้งชนิดที่เป็นผู้ผลิต (Autotroph) เพราะมีคลอโรฟิลล์ เป็นผู้บริโภค (Consumer) และเป็นผู้ย่อยสลายอินทรียสาร (Decomposer)      
4. โครงสร้างของเซลล์เป็นแบบยูคาริโอติก (Eucaryotic) ซึ่งมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ได้แก่ โพรโทซัว เห็ด รา ยีสต์ ราเมือก สาหร่ายต่าง ๆ      
5. การเคลื่อนที่ บางชนิดเคลื่อนที่ได้โดยใช้ ซีเลีย (cilia) แฟลกเจลลัม (flagellum) หรือซูโดโปเดียม (Pseudopodium) บางชนิดเคลื่อนที่ไม่ได้      
6. การสืบพันธุ์ ทั้งแบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction) และแบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) แบบอาศัยเพศมีทั้งชนิดคอนจูเกชัน (Conjugation) ซึ่งเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ที่มีรูปร่างและขนาดเหมือนกัน มารวมกัน ดังเช่นที่พบในพารามีเซียม ราดำ เป็นต้น และชนิดปฏิสนธิ (fertilization) ซึ่งเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ ที่มีรูปร่างและขนาดต่างกันมารวมกัน ดังเช่นที่พบในสาหร่ายเป็นส่วนใหญ่ เป็นต้น
มีทั้งกลุ่มที่สังเคราะห์แสงได้, กลุ่มที่ต้องกินอาหาร และกลุ่มที่ต้องดูดซึมอาหารและคล้ายเชื้อรา

ประเภท

แบ่งตามสายวิวัฒนาการได้เป็น
1. Diplomonadida และ Parabasala 
2.Euglenophyta
3.Alveolata
  -Dinoflagellate
   -Apicomplexa
   -Ciliates
4.stramenopiles
   -สาหร่ายสีน้ำตาล
   -Diatoms
5.สาหร่ายสีแดง
6.สาหร่ายสีเขียว
7.ไมซีโทซัว