Wednesday, January 29, 2020

ความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพ



  



 










ความหลากหลายทางชีวภาพ มาจากภาษาอังกฤษคือคำว่า Biodiversity โดยรากศัพท์แล้วหมายความถึงความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ยังพบกลุ่มคำในความหมายดังกล่าว  เช่น Biological diversity หรือ Diversity เป็นต้น
ความหลากหลายทางชีวภาพ  หมายถึง การมีชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดมาอยู่ร่วมกัน ณ สถานที่หนึ่งหรือระบบนิเวศใดระบบนิเวศหนึ่ง    ทั้งนี้เราสามารถจัดแบ่งความหลากหลายทางชีวภาพได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1.             ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ ( species diversity )ของสิ่งมีชีวิต
2.             ความหลากหลายของพันธุกรรม ( genetic diversity )
3.             ความหลากหลายของระบบนิเวศ ( ecolosystem diversity )
                ความหลากหลายทั้ง3 ลักษณะ มีความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อนในสภาพแวดล้อมและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตอยู่ของสิ่งมีชีวิตบนโลก

ความหลากหลายของชนิดพันธุ์(ของสิ่งมีชีวิต)

      สิ่งมีชีวิตบนโลกมีอยู่มากมาย มีลักษณะที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้คาดว่าชนิดของสิ่งมีชีวิตมีมากถึง 5-30 ล้านชนิด ทั้งพืชและสัตว์และจุลชีพแตกต่างกันออกไปทั้งรูปร่างลักษณะ การดำรงชีพกระจัดกระจาย กันออกไปในแต่ละเขตภูมิศาสตร์ของโลก อาจแบ่งได้เป็นเชื้อไวรัส 1,000 ชนิด แบคทีเรีย 4,760 ชนิด เชื้อรา 47,000 ชนิด  สาหร่าย 26,900 ชนิด  สัตว์เซลล์เดียว 30,800 ชนิด  สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง 99,000 ชนิด  สัตว์มีกระดูกสันหลัง 44,000 ชนิด  ทั้งนี้ระดับจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสภาพของสิ่งแวดล้อม
ความหลากหลายในเรื่องชนิดหรือสปีชีส์ ของสิ่งมีชีวิต มีความหมายเป็น 2 ลักษณะ คือมีความมากชนิด (species richness) ซึ่งหมายถึงจำนวนชนิดของสิ่ง มีชีวิตต่อหน่วยเนื้อที่ และมีความสม่ำเสมอของชนิด (species eveness) หมายถึงสัดส่วนของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหนึ่ง ๆดังนั้นความหลากหลายทางชนิดพันธุ์จึงสามารถวัดได้จากจำนวนของสิ่งมีชีวิตและจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด  รวมถึงโครงสร้างของอายุและเพศของประชากรด้วย  ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตนั้นจะแตกต่างกันไปตามพื้นที่  กล่าวคือจำนวนของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่หรือชุมชนหนึ่ง (community) จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงจะขึ้นอยู่กับการแข่งขัน สิ่งมีชีวิตที่มีหน้าที่เดียวกันในชุมชนหนึ่ง ๆ จะมีการแข่งขันการทำหน้าที่อันทำให้เกิดการแยกหรือการอพยพออกจากชุมชนในที่สุด เช่น ในชุมชนมีสัตว์หลายชนิด  สัตว์บางชนิดสามารถกินพืชเป็นอาหารได้  เป็นต้น หรือ ในป่าเต็งรังของไทย มีต้นไม้ 31 ชนิด  ป่าดิบแล้ง 54 ชนิด และในป่าดิบชื้นมีอยู่นับร้อยชนิด
ความหลากหลายของชนิดจะแตกต่างกันไปตามพื้นที่ ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานทางด้านชีวภูมิศาสตร์ (biogeography) พื้นที่ที่อยู่ในเขตร้อน (tropics) และในทะเลลึกจะมีความหลากหลายของชนิดสูง และความหลากหลายของชนิดจะลดลงในพื้นที่ที่มีความผันแปรของอากาศสูง เช่น ในทะเลทรายหรือขั้วโลก หรืออาจกล่าวได้ว่าในบริเวณเขตร้อนในแถบละติจูดต่ำ (low lattitude) ใกล้เส้นศูนย์สูตรจะมีความหลากหลายของชนิดสูง และจะลดลงเมื่ออยู่ในแถบละติจูดสูง (high lattitude)






ความหลากหลายของพันธุกรรม
                ความหลากหลายของพันธุกรรม
หมายถึงความหลากหลายของหน่วยพันธุกรรมหรือยีน(genes) ที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด   สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันอาจมียีนแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ เช่น ข้าวซึ่งมีสายพันธุ์มากมายหลายพันชนิด  เป็นต้น  ความแตกต่างผันแปรทางพันธุกรรมในแต่ละหน่วยชีวิตมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม (mutation) อาจเกิดขึ้นในระดับยีน หรือในระดับโครโมโซมผสมผสานกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ  ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติได้น้อยมาก และเมื่อลักษณะดังกล่าวถูกถ่ายทอดไปยังรุ่นลูก จะทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรม เช่น แมวที่มีลักษณะรูปร่างหลากหลายที่แตกต่างกัน เป็นต้น   ทั้งนี้เป็นที่ทราบในเบื้องต้นจากหน่วยการเรียนที่ผ่านมาแล้วว่าการถ่ายทอดยีนแต่ละรุ่นจะต้องเป็นไปอย่างมีความกดดันของวิวัฒนาการ (evolutionary forces) เช่น การคัดเลือกโดยธรรมชาติ การอพยพ ความผกผันทางพันธุกรรม ฯลฯ ทำให้โครงสร้าง ทางพันธุกรรมของประชากรในแต่ละรุ่นเปลี่ยนแปลงผันไปได้  ซึ่งก็คือกระบวนการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการที่จะเล็กละน้อย (micro evolution) ก่อให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมในประชากรต่าง ๆ ของสปีซีส์  จะเห็นได้อย่างชัดเจนในปัจจุบันที่มีการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์พืชที่มีสมบัติพิเศษ เช่น เพื่อต้านทานศัตรูพืช  เพื่อต้านทานโรค เป็นต้น จึงทำให้ได้ผลผลิตที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งแต่ละชนิดจะมียีนที่แตกต่างกันไป  
ความหลากหลายของระบบนิเวศ
ความหลากหลายของระบบนิเวศ
ระบบนิเวศแต่ละระบบเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตมากมาย หลายชนิด โดยมีสภาวะที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด  โดยที่ระบบนิเวศจะมีความหลากหลายที่สามารถแยกออกได้ 3 ลักษณะ คือ 
                  1. ความหลากหลายของถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติ (habitat diversity)
                              ตัวอย่างความหลากหลายของถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติ เช่น ในผืนป่าทางตะวันตกของ
ไทยที่มีลำน้ำใหญ่ไหลผ่าน จะพบถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติมากมายคือ ลำน้ำ หาดทราย พรุซึ่งมีน้ำขัง  ฝั่งน้ำ หน้าผา  ถ้ำ ป่าบนที่ดอนซึ่งมีหลายประเภท แต่ละถิ่นกำเนิดจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่แตกต่างกันไป เช่น ลำน้ำพบควายป่า หาดทรายมีนกยูงไทย หน้าผามีเลียงผา ถ้ำมีค้างคาว เป็นต้น เมื่อแม่น้ำใหญ่ถูกเปลี่ยนเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ ภายหลังการสร้างเขื่อนความหลากหลายของถิ่นกำเนิดก็ลดน้อยลง โดยทั่วไปแล้วที่ใดที่มีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติหลากหลายที่นั้นจะมีชนิดสิ่งมีชีวิตหลากหลายตามไปด้วย
               2. ความหลากหลายของการทดแทน ( successional diversity)
                                ในป่านั้นมีการทดแทนของสังคมพืชกล่าวคือ เมื่อป่าถูกทำลายจะโดยวิธีใดก็ตาม เช่น ถูกแผ้วถางพายุพัดไม้ป่าหักโค่น เกิดไฟป่า น้ำท่วม หรือแผ่นดินถล่ม เกิดเป็นที่โล่ง  ต่อมาจะมีพืชขึ้นใหม่เรียกว่า พืชเบิกนำ เช่น มีหญ้าคา สาบเสือ กล้วยป่า และเถาวัลย์เกิดขึ้นในที่โล่งนี้ เมื่อกาลเวลาผ่านไปก็มีต้นไม้เนื้ออ่อนโตเร็วเกิดขึ้น เช่น กระทุ่มน้ำ ปอหูช้าง ปอตองแตบ นนทรี เลี่ยน เกิดขึ้นและหากปล่อยไว้โดยไม่มีการรบกวน ป่าดั้งเดิมก็จะกลับมาอีกครั้งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า การทดแทนทางนิเวศวิทยา ( ecological succession ) สิ่งมีชีวิตบางชนิดปรับตัวให้เข้ากับยุคต้น ๆ ของการทดแทน บางชนิดก็ปรับตัวให้เข้ากับยุคสุดท้ายซึ่งป่าบริสุทธิ์ ( virgin forest)
               3. ความหลากหลายของภูมิประเทศ ( land scape diversity)
                 ในท้องที่บางแห่งมีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติมากมาย เช่น ลำน้ำ บึง หาดทราย ถ้ำ หน้าผา ภูเขา ลานหิน และมีสังคมพืชในหลาย ๆ ยุคของการทดแทน มีทุ่งหญ้าป่าโปร่งและป่าทึบ พื้นที่เช่นนี้จะมีสรรพสิ่งมีชีวิตมากมายผิดกับเมืองหนาวที่มีต้นไม้ชนิดเดียวขึ้นอยู่บนเนื้อที่หลายร้อยไร่ มองไปก็เจอต้นไม้สนเพียงชนิดเดียว
ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ
ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ
      ความหลากหลายทางชีวภาพทางธรรมชาติเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ระบบในธรรมชาติสามารถดำรงอยู่ได้ภายใต้สภาพการณ์ของสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ  ดังนั้นความหลากหลายทางชีวภาพจึงมีความสำคัญยิ่งต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม แต่ในปัจจุบันมนุษย์เป็นผู้ที่พยายามทำลายความหลากหลายดังกล่าวให้ลดลงและได้พยายามสร้างสิ่งที่ทดแทนด้วยความหลากหลายที่อยู่ในระดับต่ำกว่า   เช่น การตัดถางป่าเต็งรังแล้วปลูกสวนป่าทดแทน ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ โดยมีความคิดว่าป่าเต็งรังมีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจต่ำจึงปลูกสักหรือปลูกยูคาลิปตัสแทนที่  สวนป่าดังกล่าวเป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพต่ำเนื่องจากมีสิ่งมีชีวิตน้อยชนิดจึงทำให้ระบบนิเวศใหม่ ไม่ทนทานต่อการผันแปรของสิ่งแวดล้อม  เช่น เกิดการระบาดของเชื้อรา เป็นต้น  และสุดท้ายมนุษย์จะต้องเป็นผู้ที่เข้าไปดูแลรักษา ( treatment ) เพื่อให้ระบบอยู่ได้ เช่น  การกำจัดแมลง เชื้อรา อันเป็นฐานของปัญหาการนำสารเคมีเข้าสู่ระบบนิเวศ ทำให้เป็นการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพของโลกอย่างรุนแรงในวงกว้างมากขึ้น  นอกจากนี้ความหลากหลายทางชีวภาพยังถูกคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่รวดเร็ว เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด น้ำท่วม ไฟป่า ฯลฯ  ซึ่งมีผลให้สิ่งมีชีวิตตามพื้นที่ของระบบนิเวศธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปด้วย  สิ่งมีชีวิตใดไม่สามารถปรับตัวได้ทันท่วงทีก็อาจสูญพันธุ์ ซึ่งเป็นการสูญเสียที่ไม่อาจกลับคืนมาได้  และถ้าสิ่งมีชีวิตใดปรับตัวได้ก็อาจต้องมีการปรับพฤติกรรม  เพื่อที่จะสร้างและพัฒนาให้ระบบนิเวศที่อาศัยให้มีความสมบูรณ์และพรั่งพร้อม ตลอดจนสร้างเสริมความมั่นคงให้มากขึ้น 




 ประโยชน์ของความหลากหลายทางชีวภาพ
1) ด้านการบริโภคใช้สอย  ซึ่งนับว่าความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นทรัพยากรทางธรรมชาติมีประโยชน์อย่างมากกับปัจจัยในการดำรงชีวิตให้แก่มนุษย์  เช่น ด้านอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เป็นต้น
                    ก. ด้านการผลิตอาหาร มนุษย์ได้บริโภคอาหารที่มาจากพืชและสัตว์ พืชไม่น้อยกว่า 5,000 ชนิดที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้ และไม่น้อยกว่า 150 ชนิดที่มนุษย์นำมาเพาะปลูกเป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์ แต่มีเพียง 20 ชนิดเท่านั้นที่ใช้เป็นอาหารหลักของประชากรโลก คือ พวกแป้ง ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี มันฝรั่ง ความหลากหลายทางธรรมชาติที่มนุษย์นำมาใช้เป็นแหล่งอาหารจะเป็นแหล่งวัตถุดิบที่ถูก นำมาใช้ ในการปรับปรุงคัดเลือกพันธุ์เพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้น เช่น
                    ข้าว (rice) ข้าวเป็นอาหารหลักที่นิยมในเอเซีย มีการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวในเอเซียโดยสถาบันข้าวนานาชาติ (International Rice Research Institute :IRRI) ในประเทศฟิลิปปินส์ โดยพัฒนาจากข้าวสายพันธุ์ดั้งเดิมทุกสายพันธุ์ในเอเซีย เพื่อให้ได้ข้าวสายพันธุ์ใหม่ อันนำมาซึ่งผลผลิตสูงขึ้นกว่าเดิมพันธุ์ IR - 8 นอกจากนี้ยังมีการค้นพบยีนที่ทนต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในพันธุ์ข้าวพื้นบ้านจังหวัดสุโขทัย อันนำมาซึ่งการปรับปรุงพันธุ์ในปัจจุบัน
                    ข้าวโพด (Maize) มีการค้นพบข้าวโพดที่ทนทานโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสในป่าประเทศแม็กซิโกในโลกมีเขตความหลากหลายของพืชที่สำคัญอยู่ 12 เขต จัดเป็นเขตที่มีความหลากหลายทางชีวภาพของพืชที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ในด้านเป็นแหล่งอาหาร                                                     
ข. ด้านการแพทย์ มีการใช้ประโยชน์จากพืชและสัตว์ในทางการแพทย์มากมายประมาณร้อยละ 25 ของยารักษาโรคผลิตขึ้นมาจาก พืชดั้งเดิม เช่น การนำพืชพวก ชินโคนา (cinchono)ผลิตยาควินินที่ใช้รักษาโรคมาลาเรีย การใช้พังพวยฝรั่งในป่าของเกาะมาดากัสการักษาโรคเลือดจาง เบาหวานและความดันสูง และในปี  พ.ศ.2543 ประเทศไทยก็ค้นพบสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ต้านมาลาเรียอันได้แก่ น้ำเต้าลม มะพูด ชะมวง สบู่เลือด พญาครุฑ มะเกลือป่า โปร่งฟ้า และ Goniotha lamus tenuifolius (ไม่มีชื่อเรียกในภาษาไทย) เป็นต้น
                   
2). ประโยชน์ด้านการผลิต (productive use value) ด้านการอุตสาหกรรม ผลผลิตของป่าที่นำมาใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะโดยตรง เช่น การป่าไม้ ของป่า หรือโดยอ้อม เช่นการสกัดสารเคมีจากพืชในป่า
                 
3). ประโยชน์อื่น ๆ (non - consumptive use) อันได้แก่คุณค่าในการบำรุงรักษาระบบนิเวศให้สามารถดำรงอยู่ได้ และดูแลระบบนิเวศ ให้คงทน เช่น การรักษาหน้าดินการตรึงไนโตรเจนสู่ดิน การสังเคราะห์พลังงานของพืช การควบคุมความชื้น เป็นต้น ซึ่งจัดเป็นประโยชน์ที่สำคัญ
สาเหตุแห่งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
                การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพเกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ที่เป็นผู้ดำเนินการ  สามารถระบุสาเหตุสำคัญๆ ได้ดังนี้
     1.การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตและบริโภค ที่ทำการเกษตรแบบมุ่งเน้นการค้า มีการผลิตสายพันธุ์เดียวโดยละทิ้งสายพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิม มีการใช้สารเคมีมากขึ้นในการเกษตร เช่น ยาฆ่าแมลงและยาปราบศัตรูพืช เกิดสารพิษตกค้างในดินและแหล่งน้ำ กระทบต่อสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในดิน และสัตว์น้ำ
     2.     การเติบโตของประชากรและการกระจายตัวของประชากร ทำให้เกิดการรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ซึ่งกระทบต่อความสมดุลของระบบนิเวศ
     3.       การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของสัตว์นานาพันธุ์   เช่น  การทำลายป่า  การล่าสัตว์  การอพยพหนีภัยธรรมชาติของสัตว์
     4.       มีการนำมาทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ประโยชน์มากเกินไป
     5.    การตักตวงผลประโยชน์จากชนิดพันธุ์ของพืชและสัตว์ป่า  เพื่อผลประโยชน์ทางการค้า โดยการค้าขายสัตว์และพืชป่าแบบผิดกฎหมาย 
     6.       การนำเข้าชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ซึ่งมีผลกระทบต่อการทำลายสายพันธุ์ท้องถิ่น
     7.    การสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่น มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ และขยะ เป็นต้น
     8.    การเปลี่ยนแปลงภาวะเศรษฐกิจ  และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมของโลก  เช่น  อุณหภูมิโลกสูงขึ้น การเพิ่มขึ้นของน้ำทะเล  ภัยแล้งทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำ การเกิดไฟป่า ในช่วงฤดูฝน  เกิดปัญหาน้ำท่วม โคลนถล่ม เป็นต้น
     9.   การอ้างสิทธิบัตร เช่น ประเทศญี่ปุ่นได้จดสิทธิบัตรการผลิตสารแก้โรคกระเพาะจากต้นเปล้าน้อย ซึ่งเป็นพันธุ์พืชที่มีในประเทศไทย (สรุปข่าวสิ่งแวดล้อม ปี  2543)
    10.   ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology)ด้านการตัดต่อหน่วยพันธุกรรมหรือ  จีเอ็มโอ (GMO; Genetically Modified Organisms) หรือพันธุวิศวกรรมศาสตร์ (genetic  engineering)

ที่มา https://sites.google.com/site/sudathanakit1/khwam-hmaykhwam-hlak-hlay-thang-chiwphaph

การเรียกชื่อวิทยาศาสตร์






ชื่อวิทยาศาสตร์ (scientific name) เป็นชื่อที่กำหนดขึ้นตามหลักสากล และเป็นที่ยอมรับกัน ในหมู่นักวิทยาศาสตร์ทั่วไป "ลินเนียส" เป็นผู้ริเริ่มการใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ เป็นคนแรก โดยกำหนดให้สิ่งมีชีวิตประกอบด้วยชื่อ ชื่อ ชื่อแรกคือ "จีนัส" และชื่อที่ คือ "สปีชีส์"
  • การเรียกชื่อซึ่งประกอบด้วยชื่อ 2 ชื่อ เรียกว่า "การตั้งชื่อแบบทวินาม (binomial nomenclature) ซึ่งจัดว่า เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ โดยมีหลักดังนี้
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต ต้องเป็นภาษาลาติน เสมอ หรือภาษาอื่นที่เปลี่ยนแปลงมาเป็นภาษาลาติน
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ของพืช และสัตว์จะเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน
  • ชื่อในลำดับขั้นจีนัส(genus) หรือ generic name การเขียนหรือการพิมพ์ ต้องขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ และตามด้วยอักษรตัวเล็กเสมอ
  • ชื่อ ในลำดับขั้นสปีชีส์ (species) หรือ specific name จะต้องประกอบด้วยคำ คำเสมอ โดยถือตาม Bionamial system อย่างเคร่งครัด คำแรกจะเป็นชื่อ genus ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ และคำหลังเป็น specific epither ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวเล็ก ซึ่งมักจะเป็นคำคุณศัพท์แสดงลักษณะเด่น เช่น สี ถิ่นกำเนิด รูปพรรณสัณฐาน บุคคลผู้ค้นพบหรือเป็นเกียรติแก่ผู้ตั้ง
  • ชื่อ จีนัสเขียนขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่และเอนหรือขีดเส้นใต้ชื่อเสมอถ้าไม่เขียน เอน เช่น Anopheles หรือ Anopheles ชื่อระบุชนิด (specific epithet) เขียนด้วยอักษรตัวเล็กและเอน หรือขีดเส้นใต้ชื่อถ้าไม่เขียนตัวเอนเช่น Anopheles sundaicus หรือ Anpheles sundaicus การขีดเส้นใต้ต้องขีดแยก ห้ามขีดต่อเป็นเส้นเดียวกัน (หรือเป็นตัวหนา)
  • ชื่อ ผู้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ให้เขียนตามหลังชื่อวิทยาศาสตร์ด้วยตัวธรรมดา นำด้วยอักษรใหญ่ เช่น Anopheles sundaicus Rodenwaldt ถ้าชื่อจีนัสถูกเปลี่ยนไปไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ชื่อผู้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์คนแรกต้องเขียนไว้ในวงเล็บ
  • ถ้า สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน มีชื่อวิทยาศาสตร์หลายชื่อ เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ต่างคนต่างพบ แต่ไม่ทราบมีคนพบและตั้งชื่อไว้ก่อนแล้ว และตั้งชื่อขึ้นมาใหม่ เช่น หางนกยูงไทย ลินเนียสตั้งชื่อก่อนว่า Poinciana pulcherime Linn. ต่อมา Swartz ตั้งชื่อเป็น Caesalpinla pulcherima Swartz ในกรณีนี้ ชื่อหลังต้องยกเลิกไป
  • ชื่อ วิทยาศาสตร์ตามระบบ Trinomial Nomenclature มีชื่อที่ประกอบด้วย คำ ซึ่งตามระบบนี้จะแสดงถึงระดับ ซับสปีชีส์ (Subspecies หรือ Variety)
ชื่อสกุล คาระบุชนิด ชื่อย่อของคนตั้งชื่อ


Thursday, January 2, 2020

ไฟลัม เบสิดิโอไมโคตา (Phylum Basidiomycota)

Phylum Basidiomycota

Image result for ไฟลัม เบสิดิโอไมโคตา

ราไฟลัมนี้มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. เป็นราชนิดที่มีเส้นใยแบบมีผนังกั้น และมีการรวมตัวอัดแน่นเป็นแท่งคล้ายลำต้น เช่น ดอกเห็ด
2. มีการสืบพันธุ์ 2 แบบ
- แบบไม่อาศัยเพศ โดยการสร้างสปอร์ ที่เรียกว่า conidiospore ใน conidia
- แบบอาศัยเพศ โดยการสร้างสปอร์ที่เรียกว่า basidiospore บน basidium
3. ตัวอย่างของราไฟลัม เช่น ราสนิม ราเขม่าดำ เห็ดฟาง เห็ดนางรม เห็ดหูหนู เห็ดเผาะ เป็นต้น


ไฟลัม แอสโคไมโคตา (Phylum Ascomycota)


Phylum Ascomycota

Image result for phylum ascomycota

ราในไฟลัมนี้ลักษณะสำคัญ มีดังนี้
1. เป็นราชนิดที่มีเซลล์เดียว เช่น ยีสต์ และยังเป็นราชนิดที่มีหลายเซลล์ โดยมีเส้นใยแบบมีผนังกั้น (septate hypha)
2. เป็นชนิดของราที่พบมากที่สุด
3. การสืบพันธุ์ของราชนิดนี้มี 2 แบบ
- แบบไม่อาศัยเพศ โดยสร้างสปอร์ ที่เรียกว่า conidia ส่วนยีสต์จะสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อ
- แบบอาศัยเพศ โดยสร้างสปอร์ ที่เรียกว่า ascospore อยู่ในถุง ascus
4. ตัวอย่างราในไฟลัมนี้ คือ Saccharomyces cerevisiae หรือ ยีสต์ ใช้ในการผลิตแอลกอฮอล์ และมีโปรตีนสูง , Monascus sp. ใช้ผลิตข้าวแดงและเต้าหู้ยี้

Wednesday, January 1, 2020

ไฟลัม ไซโกไมโคตา (Phylum Zygomycota)


Phylum Zygomycota


Image result for phylum zygomycota

ลักษณะสำคัญของไฟลัมนี้ มีดังนี้
1. เป็นราชนิดที่มีเส้นใยแบบที่ไม่มีผนังกั้น (non-septate hypha)
2. ดำรงชีวิตทั้งแบบปรสิต (parasite) และแบบผู้ย่อยสลาย (saprophyte)
3. มีการสืบพันธุ์ 2 แบบ
- แบบไม่อาศัยเพศ เป็นการสร้างสปอร์ ที่เรียกว่า Sporangiospore
- แบบอาศัยเพศ เป็นการสร้างสปอร์ ที่เรียกว่า Zygospore มักจะสร้างสปอร์แบบนี้ในสภาวะที่ไม่เหมาะสม เช่น สภาวะที่ไม่มีอาหาร เป็นต้น
4. ตัวอย่างของราไฟลัมนี้ เช่น Rhizopus oryzae มีหน้าที่ผลิตแอลกอฮอล์, Rhizopus nigricans ทำหน้าที่ผลิตกรดฟูมาริก, Rhizopus stolonifera ขึ้นบนขนมปัง หรือที่เราเรียกกันว่า ราขนมปังนั่นเอง, Mucor sp. ราดำ

ไฟลัม ไคทริดิโอไมโคตา (Phylum Chytridiomycota)

Phylum Chytridiomycota


Image result for chytridiomycota

ฟังไจกลุ่มนี้จะถูกเรียกว่า ไคทริด (Chytrid) โดยมีลักษณะ ดังนี้
1.บางชนิดเป็นปรสติ บางชนิดก็แบบพึ่งพาโดยการอยู่ในทางเดินอาหารของพวกแกะและวัว ซึ่งในการอาศัยแบบนี้จะมีการหายใจโดยไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic respiration)
2. เป็นฟังไจกลุ่มที่ไม่มีเยื่อกั้น (non-septate fungi)
3.สร้างเซลล์สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ คือ zoospore เป็นสปอร์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ เนื่องจากมี flagellum
4.ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในกบุ่มนี้ คือ Olpidium sp. , Synchytrium sp. และ Physoderma sp.

kingdom fungi

Kingdom Fungi

Related image

            อาณาจักรฟังไจ หรือ อาณาจักรรานั้น เป็นอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตที่เป็นยูคาริโอต โดยอาจจะเป็นทั้งสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว หรือ หลายเซลล์ มีผนังเซลล์ที่เป็นสารจำพวกไคติน (chitin) มีอวัยวะสร้างสปอร์ที่เรียกว่า อับสปอร์ (Sporangium) แต่ไม่มีเนื้อเยื่อ (tissue) และตัวอ่อน (embryo) โดยภายในตัวเซลล์ของรานั้นจะมีไฮฟา(hypha) ที่เป็นเยื่อกั้นภายในเซลล์ ซึ่งราบางชนิดก็อาจจะมีหรือไม่มีไฮฟาก็ได้ เราจึงสามารถแยกราตามการมีไฮฟาได้โดย กลุ่มที่มีเยื่อกั้น (septate hypha) และ กลุ่มที่ไม่มีเยื่อกั้น (non-septate hypha) นอกจากนั้นกลุ่มของไฮฟาที่มารวมกันจะเรียกว่า ไมซีเลียม(mycelium) นอกจากนั้นในไฮฟาก็ยังมีหน้าที่ที่แตกต่างกันอีกด้วย ดังนั้นเราจึงสามารแบ่งหน้าที่ของไฮฟาออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. Haustorium ยื่นเข้าในโฮสต์เซลล์เพื่อดูดอาหาร พบในราที่เป็นปรสิต
2. Rhizoid คล้ายรากพืชโดยยื่นออกจากไมซีเลียม เพื่อยึดติดกับผิวอาหารเพื่อดูดีมอาหาร เช่น ราขนมปัง
3.  Fruiting body สร้างสปอร์ที่ได้จากการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
การสืบพันธุ์ชองรา แบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. Fragmentation เกิดจากเส้นในหักเป้นส่วนๆ ซึ่งที่หักไปจะกลายเป็นส่วนใหม่
2. Budding การแตกหน่อ โดยเซลล์แม่แบ่งออกเป็นสองนิวเคลียส แล้วอันหนึ่งกลายเป้นนิวเคลียสของหน่อ เมื่อหน่อเจริญเต็มที่จะคอดเว้าขาดจากกัน
3. Fission การแบ่งออกเป็นสองส่วน และแต่ละเซลล์จะคอดเว้าตรงกลางและหลุดจากกัน
4. การสร้างสปอร์แบบไม่อาศัยเพศ ซึ่งแบ่งย่อยได้อีกเป็น 2 กลุ่ม
- Conidiospore หรือ Conidia เป็นสปอร์ที่ไม่มีสิ่งหุ้ม เช่น Aspergillus sp.
- Sporangiospore เป็นสปอร์ที่เกิดจากปลายเส้นในเป็นกระเปาะ
และนอกจากนั้นราก็สามารถแบ่งเป็นไฟลัมได้ทั้งหมด 4 ไฟลัม
1. Phylum Chytridiomycota เช่น Olpidium sp.
2. Phylum Zygomycota เช่น ราดำ และ ราขนมปัง
3. Phylum Ascomycota เช่น Saccharomyces cerevisiae หรือ ยีสต์
4. Phylum Basidiomycota เช่น ราสนิม ราเขม่าดำ เห็ดโคน เห็ดฟาง
และกลุ่มของ Imperfect Fungi คือกลุ่มของฟังไจ หรือ ราที่จัดเข้าไฟลัมไม่ได้ เนื่องจากไม่มีระยะสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เช่น ราน้ำ และ กลุ่มของ Pencillium