การเรียกชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อวิทยาศาสตร์ (scientific name) เป็นชื่อที่กำหนดขึ้นตามหลักสากล และเป็นที่ยอมรับกัน ในหมู่นักวิทยาศาสตร์ทั่วไป "ลินเนียส" เป็นผู้ริเริ่มการใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ เป็นคนแรก โดยกำหนดให้สิ่งมีชีวิตประกอบด้วยชื่อ 2 ชื่อ ชื่อแรกคือ "จีนัส" และชื่อที่ 2 คือ "สปีชีส์"
- การเรียกชื่อซึ่งประกอบด้วยชื่อ 2 ชื่อ เรียกว่า "การตั้งชื่อแบบทวินาม (binomial nomenclature) ซึ่งจัดว่า เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ โดยมีหลักดังนี้
- ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต ต้องเป็นภาษาลาติน เสมอ หรือภาษาอื่นที่เปลี่ยนแปลงมาเป็นภาษาลาติน
- ชื่อวิทยาศาสตร์ของพืช และสัตว์จะเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน
- ชื่อในลำดับขั้นจีนัส(genus) หรือ generic name การเขียนหรือการพิมพ์ ต้องขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ และตามด้วยอักษรตัวเล็กเสมอ
- ชื่อ ในลำดับขั้นสปีชีส์ (species) หรือ specific name จะต้องประกอบด้วยคำ 2 คำเสมอ โดยถือตาม Bionamial system อย่างเคร่งครัด คำแรกจะเป็นชื่อ genus ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ และคำหลังเป็น specific epither ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวเล็ก ซึ่งมักจะเป็นคำคุณศัพท์แสดงลักษณะเด่น เช่น สี ถิ่นกำเนิด รูปพรรณสัณฐาน บุคคลผู้ค้นพบหรือเป็นเกียรติแก่ผู้ตั้ง
- ชื่อ จีนัสเขียนขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่และเอนหรือขีดเส้นใต้ชื่อเสมอถ้าไม่เขียน เอน เช่น Anopheles หรือ Anopheles ชื่อระบุชนิด (specific epithet) เขียนด้วยอักษรตัวเล็กและเอน หรือขีดเส้นใต้ชื่อถ้าไม่เขียนตัวเอนเช่น Anopheles sundaicus หรือ Anpheles sundaicus การขีดเส้นใต้ต้องขีดแยก ห้ามขีดต่อเป็นเส้นเดียวกัน (หรือเป็นตัวหนา)
- ชื่อ ผู้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ให้เขียนตามหลังชื่อวิทยาศาสตร์ด้วยตัวธรรมดา นำด้วยอักษรใหญ่ เช่น Anopheles sundaicus Rodenwaldt ถ้าชื่อจีนัสถูกเปลี่ยนไปไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ชื่อผู้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์คนแรกต้องเขียนไว้ในวงเล็บ
- ถ้า สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน มีชื่อวิทยาศาสตร์หลายชื่อ เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ต่างคนต่างพบ แต่ไม่ทราบมีคนพบและตั้งชื่อไว้ก่อนแล้ว และตั้งชื่อขึ้นมาใหม่ เช่น หางนกยูงไทย ลินเนียสตั้งชื่อก่อนว่า Poinciana pulcherime Linn. ต่อมา Swartz ตั้งชื่อเป็น Caesalpinla pulcherima Swartz ในกรณีนี้ ชื่อหลังต้องยกเลิกไป
- ชื่อ วิทยาศาสตร์ตามระบบ Trinomial Nomenclature มีชื่อที่ประกอบด้วย 3 คำ ซึ่งตามระบบนี้จะแสดงถึงระดับ ซับสปีชีส์ (Subspecies หรือ Variety)
No comments:
Post a Comment